ไมโครอินชัวรันส์ (การประกันภัยรายย่อย)
ประกันภัยรายย่อย หรือเรียกในภาษาอังกฤษว่า “ไมโครอินชัวรันส์” (Micro Insurance) เป็นผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ออกแบบสำหรับผู้มีรายได้น้อย เช่น กลุ่มประชาชนทั่วไป พ่อค้า แม่ค้าแผงลอย กลุ่มอาชีพอิสระ และผู้ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงการประกันภัย แบบเดิมได้ ให้มีโอกาสได้เข้าถึงการประกันภัยง่ายขึ้น และเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง ช่วยสร้างหลักประกันให้กับผู้เอาประกันภัยและครอบครัว โดยเบี้ยประกันภัยที่จ่ายไปสามารถคุ้มครองความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับชีวิต สุขภาพ อุบัติเหตุ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภัยจากการกระทำของมนุษย์ และการสูญเสียทรัพย์สินได้
สำหรับประเทศไทย สำนักงาน คปภ. ได้ร่วมมือกับบริษัทประกันภัยในการพัฒนารูปแบบกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย หรือไมโครอินชัวรันส์ มาอย่างต่อเนื่อง เช่น กรมธรรม์ประกันชีวิต แบบสะสมทรัพย์ แบบชั่วระยะเวลา แบบอุบัติเหตุรายย่อย และแบบอุบัติเหตุส่วนบุคคล เป็นต้น โดยกำหนดเงื่อนไขให้ซื้อได้คนละไม่เกิน 2 ฉบับ และกำหนดอายุของผู้ซื้อกรมธรรม์อยู่ระหว่าง 20-60 ปี เนื่องจากต้องการคุ้มครองคนวัยทำงาน เพราะคนกลุ่มนี้เป็นบุคคลที่หารายได้ให้กับครอบครัว หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้นจะได้มีรายได้จุนเจือครอบครัวระยะหนึ่ง
ไมโครอินชัวรันส์ มีวัตถุประสงค์ที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามหน่วยงานที่ออกผลิตภัณฑ์ เช่น ไมโครอินชัวรันส์ที่ออกโดยภาครัฐบาล มักมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุมชนหรือสังคม ส่วนไมโครอินชัวรันส์ที่ออกโดยองค์กรเพื่อสังคมหรือองค์กรเพื่อการพัฒนา มักมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือในการบรรเทาความยากจนของประชาชน สำหรับไมโครอินชัวรันส์ที่ออกโดยบริษัทประกันภัยหรือบริษัทที่เกี่ยวข้องในตลาดการเงิน มักมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือในการเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ และยังช่วยสนับสนุนการเติบโตของภาคธุรกิจประกันภัยและเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย
สารคดีรอบรู้ประกันภัย กับ คปภ. ตอน “ดูแลรายย่อย พัฒนาไมโครอินชัวรันส์”
อัตราเบี้ยประกัน
- 1) หลักการประกันภัย (Insurance Principles) ไมโครอินชัวรันส์ใช้พื้นฐานเดียวกับหลักการประกันภัย โดย เกี่ยวกับการจ่ายเบี้ยประกันภัยของผู้เอาประกันภัย เพื่อแลกเปลี่ยนกับค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเป็นค่าชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น
- 2) การเข้าถึง (Accessibility) การเข้าถึงต้องง่ายและสะดวก เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของไมโครอินชัวรันส์ เป็นกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำและรายได้ไม่คงที่ จึงไม่สามารถซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยแบบดั้งเดิมได้
- 3) ความสามารถในการจ่ายเบี้ย (Affordability) ค่าเบี้ยประกันภัยและความคุ้มครองอยู่ในระดับไม่สูงมาก เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้
- 4) มีความยืดหยุ่น (Flexibility) เนื่องจากกลุ่มผู้มีรายได้น้อย เป็นกลุ่มที่ไม่ได้มีลักษณะความต้องการคล้ายๆ กัน การออกผลิตภัณฑ์ไมโครอินชัวรันส์ จึงต้องออกแบบให้เป็นไปตามความต้องการของกลุ่มความต้องการนั้นๆ เช่น ลักษณะการจัดเก็บเบี้ยประกันภัยต้องเหมาะสมกับรายได้ที่ไม่สม่ำเสมอของผู้เอาประกันภัย
- 5) ความง่าย (Simplicity) องค์ประกอบของไมโครอินชัวรันส์ ต้องเข้าใจง่ายทั้งรูปแบบผลิตภัณฑ์ เงื่อนไขกรมธรรม์ที่ไม่ซับซ้อน การเก็บเบี้ยประกันภัย ภาษาที่ใช้ในกรมธรรม์ วิธีการจัดการกับข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้น ทำให้เข้าใจและยอมรับได้ง่ายกว่า
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการประกันภัยแบบดั้งเดิมกับไมโครอินชัวรันส์
คุณลักษณะ | ไมโครอินชัวรันส์ | การประกันภัยแบบดั้งเดิม |
ตลาดเป้าหมาย |
|
|
การออกแบบผลิตภัณฑ์ |
|
|
การตลาดและช่องทางการขาย |
|
|
การพิจารณารับประกันภัย |
|
|
การบริหารจัดการ |
|
|
การจัดการสินไหมทดแทน |
|
|
การจัดการสินทรัพย์ |
|
|
ปัจจุบัน กรมธรรม์ประกันภัยสำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ที่ผ่านความเห็นชอบจากสำนักงาน คปภ. มีหลากหลายประเภท ทั้งกรมธรรม์ประกันภัยมาตรฐาน และกรมธรรม์ประกันภัยแบบพิเศษ อาทิเช่น
กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย ที่อยู่อาศัย แบบประหยัดสำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) | กรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุ สำหรับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ รับจ้าง (มอเตอร์ไซค์ยิ้ม) | |
กรมธรรม์ประกันภัย อุบัติเหตุนักเรียน แบบประหยัด | กรมธรรม์ประกันภัย ท่องเที่ยวสุขใจ สำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) | |
กรมธรรม์ประกันภัย เพื่อคนพิการ สำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวร์รันส์) | การประกันภัยข้าวนาปี สำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) | การประกันภัยข้าวโพด เลี้ยงสัตว์โดยใช้ดัชนีน้ำฝน และดัชนีความแห้งแล้ง สำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) |
ขอขอบคุณบทความ และข้อมูล จาก คปภ.